CVS โรคสายตา ของคนยุคใหม่ เช็คอาการตัวเองเบื้องต้น

ปวดตา ตาล้า ปวดหัว… แสบตา น้ำตาไหล เคืองตา ภาพเบลอ ไม่โฟกัส แพ้แสง….

ใครมีอาการแบบนี้ กำลังบอกว่าคุณมีโรคตาที่เรียกว่า CVS หรือ Computer Vision Syndrome เข้าแล้ว…

โรคตาคอมพิวเตอร์ วิชชัน ซินโดรม คืออะไร?

เป็นกลุ่มอาการทางตาที่เกิดจากการใช้งานตากับหน้าจออุปกรณ์ดิจิตอลเป็นเวลานานๆ มักพบในผู้ที่ใช้งานยาวนานเกิน 3 ชม. ต่อวัน

กลุ่มโรคนี้จะประกอบด้วย 2 ส่วนด้วยกัน คือ ภาวะตาแห้ง และ ภาวะกล้ามเนื้อตาทำงานหนัก ซึ่งเป็นภาวะเรื้อรัง เกิดจากการสะสมเป็นเวลานานคล้ายโรคออฟฟิตซินโดรม

 

ปัจจัยเสี่ยงของโรค

ต้องใช้กำลังเพ่งมากเกิน เช่น ผู้ที่มีสายตาแต่ไม่ได้รับการแก้ไขที่ถูกต้อง

ใช้งานระยะใกล้เป็นเวลานานเกิน

สิ่งแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสม เช่น แสงสว่างมากไปหรือน้อยเกินไป

 

รู้ได้อย่างไร ว่าเรากำลังอยู่ในภาวะนี้

การวินิจฉัยโรคนี้อาศัยอาการของโรคเป็นสำคัญ​โดยคนไข้มักมีอาการดังนี้

อาการทางกล้ามเนื้อตา : ปวดตา ตาล้า ปวดหัว

อาการตาแห้ง : ภาพเบลอ แสบตา เคืองตา น้ำไหล ตาฝืด ตาแดง สู้แสงไม่ค่อยได้

หากตรวจดูสภาพตา อาจพบว่ากระจกตามีรอยแห้ง หรือ ตรวจพบว่ามีน้ำตาระเหยไว

 

การรักษา

หากมีค่าสายตาผิดปกติ ควรแก้ไขโดยการสวมแว่น หรือคอนแทคเลนส์

ปรับสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น แสงสว่างเพียงพอ ไม่ตั้งพัดลมเป่ากระทบที่ตาโดยตรง

ตั้งหน้าจอห่างตา 20-28 นิ้ว ตั้งต่ำกว่าระดับสายตา 10-15 องศา และปรับหน้าจอให้แสงจ้าลดลง

พักตาทุก 20 นาที โดยมองระยะไกล 20 ฟุต เป็นเวลา 20 วินาที (กฎ 20-20-20)

หยอดน้ำตาเทียมสม่ำเสมอ ในผู้ที่มีภาวะตาแห้ง

เลือกเลนส์แว่นตาที่เหมาะสม เช่น เลนส์กรองแสงสีฟ้า (ช่วยบรรเทาอาการเมื่อยล้าตาได้) หรือเลนส์กลุ่มผ่อนคลายกล้ามเนื้อตา

(มีค่าสายตายาวเล็กน้อยที่ส่วนล่างของเลนส์ เพื่อช่วยลดกำลังเพ่ง) ออกกำลังกายดวงตา เช่น blinking exercise (กระพริบตา)

—————————————————————

ติดต่อ ทำนัดจักษุแพทย์ ตัดแว่นพิเศษเฉพาะคุณ

การันตี ความคมชัดสบายตา ทุกคู่ โดยทีมจักษุแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเลนส์ ด้วยประสบการณ์ กว่า 30 ปี

✅ดูแลสุขภาพตาโดยจักษุแพทย์

ฟรี ดูแลอะไหล่พื้นฐาน 5 ปี

ฟรี ทำความสะอาด,ปรับแต่งทรงแว่นตลอดอายุการใช้งาน

ฟรี ค่าจัดส่งสินค้า

 

สนใจสั่งสินค้า >

Facebook THE NEXT : thenextoptical

Line : @Thenextoptical

Instagram: @thenextoptical

Shopee : https://shp.ee/qjnheag

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า