เมื่ออายุขึ้นเลขสี่เป็นช่วงวัยที่ร่างกายเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ผิวพรรณไม่สดใส ผิวหย่อนคล้อย มีริ้วรอย ไม่แข็งแรงกระฉับกระเฉง สุขภาพอ่อนแอลง และโดยเฉพาะปัญหาสายตายาวตามอายุที่รู้สึกได้ชัดเจน เพราะมองใกล้แล้วเบลอ ส่งผลให้ใช้ชีวิตประจำวันลำบากขึ้น หลายคนคงมีคำถามต่าง ๆ เกิดขึ้นมาเกี่ยวกับสายตายาวตามอายุ วันนี้เลยขอมาแบ่งปันความรู้ดี ๆ ว่า สายตายาวตามอายุเกิดจาก สาเหตุอะไรบ้าง ไขข้อสงสัยที่คนวัยนี้อยากรู้กัน
สายตายาวตามอายุหรือสายตายาวตามวัยคืออะไร
สายตายาวตามอายุ หรือ สายตายาวตามวัย หรือ สายตายาวผู้สูงอายุ (Presbyopia) คือ ปัญหาสายตา ที่สามารถพบได้เมื่ออายุประมาณ 38-40 ปีขึ้นไป โดยจะเริ่มมีปัญหาในการมองเห็นระยะใกล้หรือวัตถุขนาดเล็ก เริ่มไม่ชัดเจนเหมือนเดิม ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ทำอะไรได้ไม่คล่องแคล่ว ความสามารถการทำงานลดลง เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุง่าย ขาดความมั่นใจ เสียบุคลิกภาพ ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ลำบากยิ่งขึ้น หากอ่านหนังสือหรือดูมือถือต้องยืดแขนออกไประยะไกลกว่าเดิม หรือขยายตัวอักษรให้ใหญ่ขึ้น เพื่อให้มองเห็นตัวอักษรหรือภาพได้ชัด ภาวะสายตายาวตามอายุ ไม่สามารถหายเองได้ เพียงแต่มีวิธีชะลอค่าสายตาและแก้ไขให้การมองเห็นกลับมาชัดเจนและมั่นใจยิ่งขึ้น
อาการที่บอกว่าเริ่มมีสายตายาวตามอายุ
ในคนไข้บางรายจะเริ่มมีอาการเมื่ออายุ 38-40 ปี และจะค่อย ๆ แสดงอาการมากขึ้นเรื่อยๆ ไปจนถึงอายุ 65 ปี อาการของสายตายาวตามอายุที่สังเกตได้ด้วยตัวเอง มีดังนี้
1. มองวัตถุที่อยู่ในระยะใกล้ไม่ชัดเจน หรือบางครั้งก็ไม่ชัดทั้งระยะใกล้และไกล
2. อ่านตัวอักษรขนาดเล็กได้ไม่ชัดเจน มักหรี่ตาเมื่อต้องมองในระยะใกล้
3. เมื่อถือหนังสือหรือสมาร์ทโฟนในระยะที่ห่างออกไปจึงจะมองเห็นดีขึ้น
4. มีอาการตาล้า ปวดตา หรือปวดศีรษะ เมื่อใช้สายตามองระยะใกล้เป็นเวลานาน
5. ผู้ที่ใส่แว่นสายตาสั้นอยู่แล้วเมื่อมองระยะไกล ต้องยกแว่นขึ้นเพื่อให้มองเห็นได้ชัด
6. การมองโฟกัสภาพจากระยะใกล้มาไกล หรือ ระยะไกลมาใกล้ ทำได้ยากขึ้น
7. มองไม่ค่อยเห็นในที่ที่มีแสงน้อย หรือ มองภาพไม่ชัดในเวลากลางคืน
ช้อปกรอบแว่นพร้อมเลนส์ได้ที่ ร้านแว่นตา THE NEXT
สาเหตุของสายตายาวตามอายุ
สายตายาวตามอายุเกิดจากเลนส์ตามีความแข็งขึ้น ยืดหยุ่นน้อยลง และกล้ามเนื้อตาเสื่อมสภาพตามอายุที่มากขึ้น ทำให้เลนส์ตาที่ต้องคอยปรับโฟกัสภาพ โดยการป่องออกเมื่อมองใกล้ และแบนลงเมื่อต้องการมองไกล ทำไม่ได้เหมือนเดิม ส่งผลให้การมองเห็นในทุกๆ ระยะลำบากขึ้น โดยหลักๆ จะเริ่มรู้สึกเป็นปัญหาที่ระยะใกล้ก่อน โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดสายตายาวตามวัย ได้แก่
- ร่างกายเสื่อมสภาพตามอายุที่มากขึ้น มักพบในคนอายุ 40 ปีขึ้นไป
- การเพ่ง การหรี่ตา พฤติกรรมการใช้สายตาบางอย่างที่ทำให้ค่าสายตาเพิ่มขึ้น
- การได้รับบาดเจ็บที่ตา ผ่าตัดตา และโรคบางชนิด เช่น เบาหวาน โลหิตจาง
- ดวงตาได้รับอันตรายจากรังสียูวีและแสงสีฟ้าอมม่วงทำให้เลนส์ตาเสื่อมสภาพไว
วิธีการแก้ไขสายตายาวตามอายุ
สายตายาวตามอายุยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่แก้ไขให้มองเห็นชัดขึ้นได้ ปัจจุบันมีหลากหลายวิธี ได้แก่
1. เลนส์แว่นตา แบ่งออกเป็น 4 ชนิด
- เลนส์ชั้นเดียว (Single lens) เป็นเลนส์ที่มีค่าสายตาเดียวทั้งตัวเลนส์ สามารถตัดเป็นเลนส์ใช้สำหรับอ่านหนังสือ (Reading glasses) หรือสำหรับผู้ที่มีค่าสายตาสั้น สายตาเอียง สายตายาว ก็ใช้แว่นเลนส์สายตาชั้นเดียว สำหรับมองไกล ใส่แยกเป็นแว่นตา 2 ตัว
- เลนส์สองชั้น (Bifocal lens) เป็นเลนส์ที่มีรูปถ้วยด้านล่างทำให้มองระยะไกลในส่วนบน และ มองระยะใกล้